[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้บริหารการศึกษา
นายสพล ชูทอง
ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เมนูหลัก
ในสำนักงาน
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1260 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
/*อย่าลืมออกจากระบบด้วยนะครับ /*
สำรวจความคิดเห็น

   ท่านมีความพึงพอใจในทิศทางการปรับรูปแบบของเว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ แบบใหม่ มากน้อยเพียงใด? (โดย เลือกจากน้อยที่สุด ถึง มากที่สุด ๕ ระดับ)


  1. น้อยที่สุด
  2. น้อย
  3. ปานกลาง
  4. มาก
  5. มากที่สุด
บริการ(E-service)
  

  หมวดหมู่ : กลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล
เรื่อง : Government Website Standard
blog name : suppk
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 2314
จันทร์ ที่ 15 เดือน กันยายน พ.ศ.2557
A- A A+
        

การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะการจัดการเว็บไต์และการให้บริการเว็บโฮสติ้ง และการสร้าง
ความเข้าใจในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ในวันที่ ๒๐ – ๒๒ สิงหาคม  ๒๕๕๗ ณ โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

นายสุภักดิ์  มีสิทธิ์  ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ

…..................................................................

        จากรายงาน United Nations E-Government Survey 2012 ของกลุ่มประเทศสมาชิกสหประชาชาติ  เพื่อจัดอันดับการพัฒนา e-Government ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๓ จากจำนวน ๑๙๓ ประเทศ พบว่าประเทศไทยถูกจัดอยู่ในลำดับ ๖๔, ๗๖ และ ๙๒ ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงความถดถอยของการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับภาครัฐของประเทศไทย ดังนั้นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ และเพื่อให้รัฐบาลอิเลคทรอนิกส์ของประเทศไทยก้าวไปสู่การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) โดยยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางและให้ประชาชนมีส่วนร่วมผ่านทางอิเลคทรอนิกส์ (E-Participation) และมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงได้เชิญบุคคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเว็บมาสเตอร์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการจัดการเว็บไซต์และการให้บริการเว็บโฮสติ้ง และสร้างความเข้าใจในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ณ โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว ถนนเจริญกรุง เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น ๒๐๐ คน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒  สิงหาคม  ๒๕๕๗.

จุดประสงค์ของการประชุม
๑. สร้างความเข้าใจในมาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard) ให้แก่เว็บมาสเตอร์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ
๒. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการใช้งานแอปปลิเคชั่นสำหรับการสร้างเนื้อหาทางการศึกษาเพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ และเว็บไซต์เพื่อสารสนเทศทางการศึกษา ที่สามารถนำไปใช้งานได้ในสถานศึกษาโดยทั่วไป
๓. เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมให้บริการพื้นที่เว็บไซต์สำหรับเครื่องเชิร์ฟเวอร์ ESAO-1 ที่ประจำอยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในรูแบบของซอร์ฟแวร์ลิขสิทธิ์ประจำเครื่องและซอร์ฟแวร์แบบ
โอเพนต์ซอร์ส
๔. เวทีแลกเปลี่ยนการจัดการเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและการรักษาความปลอดภัยของระบบการจัดการสารสนเทศทางการศึกษา
๕. จัดทำทะเบียนเว็บมาสเตอร์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เนื้อหาการประชุม
๑. มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard) โดยสำนักงานรัฐบาลอิเลค
ทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) (สรอ.) Electronic Government Agency (Public Organization) (EGA) ได้เสนอแนะไว้ ดังนี้
๑.๑ เนื้อหาเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Contents) เป็นข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาที่ควรมีในเว็บไซต์ภาครัฐ เพื่อให้บริการประชาชน ธุรกิจเอกชน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ แบ่งออก
เป็น ๓ ส่วน ดังนี้
   ๑.๑.๑ เกี่ยวกับหน่วยงาน มีข้อมูลที่ควรต้องนำเสนอ ประกอบด้วย ประวัติความ
เป็นมา, วิสัยทัศน์ พันธกิจ, โครงสร้างหน่วยงาน ผู้บริหาร อำนาจหน้าที่, ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงาน, ยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ, แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปี, คำรับรอง และรายงานผลการปฏิบัติราชการ, ข้อมูลการติดต่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขโทรสาร และแผนที่ตั้งหน่วยงาน, ที่อยู่ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ (e-Mail Address) ของบุคคลภายในหน่วยงานที่รับผิดชอบข้อมูล เช่น ผู้ดูแลเว็บไซต์ เป็นต้น
   ๑.๑.๒ ข้อมูลผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chife Information Officer : CIO)  ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง ข้อมูลการติดต่อ ที่อยู่ทางไปรษณีย์, ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์,
วิสัยทัศน์ นโยบายด้านไอซีที, ยุทธศาสตร์, แผนสารสนเทศ แผนปฏิบัติการ, ข่าวสาร, ปฏิทินกิจกรรม เป็นต้น
   ๑.๑.๓ ข่าวประชาสัมพันธ์ ข่าวสารประชาสัมพันธ์ทั่วไป ข่าวสารและประกาศของหน่วยงาน ปฏิทินกิจกรรมของหน่วยงาน
   ๑.๑.๔ เว็บลิงค์ ส่วนงานภายใน, หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง, เว็บไซต์อื่นๆ
ที่น่าสนใจ.
   ๑.๑.๕ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน กฏหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ มาตรฐาน คู่มือ แนวปฏิบัติ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยแสดงที่มาของข้อมูลที่นำมาเผยแพร่
   ๑.๑.๖ ข้อมูลการบริการ แสดงข้อมูลการบริการตามภารกิจของหน่วยงานพร้อม
คำอธิบายขั้นตอนบริการ โดยแสดงขั้นตอนการให้บริการต่างๆ แก่ประชาชน ทั้งนี้ควรระบุระยะเวลาใน
แต่ละขั้นตอนการให้บริการนั้นๆ.
   ๑.๑.๗ แบบฟอร์มที่ดาวน์โหลดได้ (Download Forms) ส่วนที่ให้บริการประชาชนสำหรับ Download แบบฟอร์มต่างๆ ของหน่วยงาน
   ๑.๑.๘ คลังความรู้ ผลงานวิจัย บทความ กรณีศึกษา ข้อมูล สถิติต่างๆ ข้อมูล GIS และ e-Book เป็นต้น ตลอดจนต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มา (Reference) วัน เวลา กำกับ เพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้ต่อ.
   ๑.๑.๙ คำถามที่พบบ่อย (FAQ) ส่วนที่แสดงคำถามและคำตอบที่มีผู้นิยม
ถามมาบ่อยๆ.
   ๑.๑.๑๐ ผังเว็บไซต์ (Site Map) ส่วนที่แสดงผังเว็บไซต์ทั้งหมด.
  ๑.๒ การสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ เนื้อหาของเว็บไซต์ที่มีส่วนร่วมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
   ๑.๒.๑ ถาม-ตอบ (Q&A) ส่วนของเว็บไซต์ที่แสดงคำถามของผู้รับบริการและการให้คำตอบของหน่วยงาน เมื่อได้ข้อสรุปหรือมีความถี่ในระดับหนึ่งก็จะโอนเนื้อหาเหล่านั้นไปอยู่ใน FAQ.
   ๑.๒.๒ ระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ส่วนบริการสำหรับสืบค้นข้อมูลทั่วไป สืบค้นข้อมูลภาย เรื่องน่ารู้ภายในหน่วยงาน.
๑.๒.๓ ช่องทางการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ การแจ้งข่าว การแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ เช่น SMS, e-Mail เป็นต้น, ช่องทางการติดต่อหน่วยงานในรูปแบบ Social Network เช่น Facebook, Tweeter เป็นต้น, ช่องทางแสดงความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ เช่น e-Mail, Web board, Blog เป็นต้น, ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและช่องทางการติดตามเรื่องร้องเรียน.
   ๑.๒.๔ แบบสำรวจออนไลน์ (Online Survey) การสำรวจความพึงพอใจการใช้บริการเว็บไซต์, การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (Online Poll) การออกเสียงลงคะแนนต่างๆ (Online Voting).
  ๑.๓ การให้บริการรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Service) และเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ
   ๑.๓.๑ การลงทะเบียนออนไลน์ (Login Form) ทะเบียนสมาชิก (Register Form) เป็นแบบฟอร์มที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการลงทะเบียนเพื่อบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับการเข้าใช้บริการที่จำเพาะเจาะจงยิ่งขึ้นไป
   ๑.๓.๒ e-Forms/Online Forms ส่วนที่ให้บริการบันทึกข้อมูลลงในแบบฟอร์มต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดเอกสาร และสามารถพิมพ์เอกสารหรือบันทึกข้อมูลในรูปแบบอิเลค-
ทรอนิกส์ได้.
   ๑.๓.๓ ระบบการให้บริการในรูปแบบอิเลกทรอนิกส์ (e-Service) ระบบการให้บริการในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ ตามภารกิจของหน่วยงาน.
   ๑.๓.๔ การให้บริการเฉพาะบุคคล (Personalized e-Services) ในลักษณะที่ผู้ใช้บริการสามารถกำหนดรูปแบบส่วนตัวการใช้บริการเว็บไซต์ได้ ผู้ใช้สามารถปรับรูปแบบการใช้บริการและกำหนดข้อมูลการใช้บริการเฉพาะบุคคลได้เอง.
  ๑.๔ การบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ในลักษณะบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One-Stop-Service).
  ๑.๕ การรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security) การตรวจสอบตัวตน การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การเข้ารหัสข้อมูล.
  ๑.๖ คุณลักษณะของเว็บไซต์ที่ควรมี (Reccommended Features) ประกอบด้วย
   ๑.๖.๑ การแสดงผล สามารถแสดงได้อย่างน้อย ๒ ภาษาทั้งในส่วนเนื้อหาและเมนู
ใช้งาน สามารถกำหนดเพิ่ม-ลด ขนาดอักษรในเว็บไซต์ได้ตามความเหมาะสม
   ๑.๖.๒ การนำเสนอข้อมูล มีการใช้งานระบบเผยแพร่ข่าวสาธารณะ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเสียง ภาพยนต์.
   ๑.๖.๓ เครื่องมือสนับสนุนการใช้งาน มีระบบนำทางเนื้อหาที่ใช้ง่ายและชัดเจน
มีระบบแนะนำทุกขั้นตอนสามารถเปิด-ปิดได้โดยผู้ใช้งาน มีเว็บสำรองการแนะนำการใช้งาน.
   ๑.๖.๓ เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (Web Analytic) การนับจำนวนครั้งการเปิดหน้าหลัก การเข้าใช้บริการของสมาชิก การเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของผู้ชมและสมาชิก.
   ๑.๖.๔ การตั้งชื่อไฟล์และไดเรกทอรี่ ควรตั้งชื่อให้สื่อความหมาย เข้าใจตรงกัน สั้นกระชับ เป็นคำสำคัญและช่วยให้ตัวค้นหาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ.
๑.๖.๕ ส่วนล่างของเว็บไซต์ (Page Footer) ทุกๆ หน้าจะแสดงข้อมูลต่างๆ ในส่วนล่างของเว็บไซต์ดังนี้
   - เมนูหลักในรูปแบบของข้อความ ช่วยให้ขณะอ่านเนื้อหายาวๆ สามารถเปลี่ยนไปยังเนื้อหาอื่นได้สะดวก
   - ข้อมูลติดต่อหน่วยงานชัดเจน ใช้งานได้
   - เส้นเชื่อมโยงหน้าหลัก
   - คำสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright)
   - การปฏิเสธความรับผิดชอบ (Disclaimer)
   - คำประกาศนโยบายต่างๆ
   ๑.๖.๖ เส้นเชื่อม (Link) สามารถพร้อมใช้งานและปรับปรุงเป็นปัจจุบันเสมอ
   ๑.๖.๗ ข้อกำหนดมาตรฐาน สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานเว็บไซต์ระดับสากล เช่น มาตรฐานเวอร์ล ไวน์ เว็บ (World Wide Web Consortiam : W3C), มาตรฐานเว็บไซต์ไทย (Thai Web Content Accessibility Guidelines 2010 : TWAG2010).
   ๑.๗ ระดับการพัฒนาการให้บริการของเว็บไซต์ภาครัฐ (Phases of Development) ที่สอดคล้องกับระดับการให้บริการออนไลน์ (Online Service) ขององ์การสหประชาชาติ (UN)
    ๑.๗.๑  Emerging Information Service เป็นระดับของเว็บไซต์ที่ให้บริการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ในรูปแบบออนไลน์ โดยที่ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นต้องมีความถูกต้อง
มีคุณค่าต่อการใช้งาน และทันสมัย โดยประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบันต่างๆ ของภาครัฐ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังได้
    ๑.๗.๒ Enhance Information Serviceเป็นระดับของเว็บไซต์ที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับประชาชน โดยจะเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทางแบบง่าย ระหว่างภาครัฐกับประชาชน เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น และสามารถฝากข้อความ ปัญหา ข้อสงสัย ข้อร้องเรียนต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ สามารถติดตามผลในเวลาที่เหมาะสมได้.
    ๑.๗.๓Transaction Information Service เป็นระดับของเว็บไซต์ที่สามารถดำเนินธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเอง เช่นเดียวกับร้านค้าอิเลคทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินกิจกรรมซื้อขาย และชำระเงินตลอดจนส่งสินค้า ได้ในการทำธุรกรรมเดียว ในกรณีของหน่วยงานภาครัฐ การต้องให้บริการที่ประชาชนสามารถดำเนินการโดยเสมือนกับการติดต่อส่วนราชการตามปกติ เช่น การชำระภาษีออนไลน์ การจ่ายค่าปรับจราจร เป็นต้น โดยการดำเนินการนี้จะเป็นการลดขั้นตอนที่ประชาชนต้องดำเนินธุรกรรมด้วยตนเอง.
    ๑.๗.๔Connected Information Service เป็นระดับของเว็บไซต์ที่มีการ
บูรณาการแนวราบของงานบริการ (Collaboration) ระหว่างหน่วยงานของภาครัฐ เพื่อพัฒนาระบบให้มี
หน้าต่างเดียวเบ็ดเสร็จ (Single Window) สำหรับการให้บริการประชาชนสามารถติดต่อได้ที่คลิกเดียวใน
การรับบริการจากหลายหน่วยงาน ตลอดจนสามารถสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจประเด็นต่างๆ ได้.
และการจัดการเว็บไซต์ภาครัฐ ยังสามารถพัฒนาเข้าสู่รูปแบบเว็บไซต์ให้สามารถเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกรูปแบบ ข้อมูล หรือการบริการที่ตัวเองต้องการได้ (Personalized e-Service) หรือเลือกสรรข้อมูลสารสนเทศที่หน่วยงานสรรหามาเพื่อบริการประชาชนเฉพาะกลุ่มที่สนใจได้ ที่เรียกว่า Web Intelligence นั้นเอง.
๒. แอปปลิเคชั่น สำหรับการใช้งานทางด้านการจัดการเว็บไซต์และการนำเสนอเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศทางการศึกษา แบ่งออกเป็น ๒ หัวข้อหลัก ดังนี้.
  ๒.๑ แอปปลิเคชั่นการสร้างเนื้อหาและสารสนเทศ ได้แก่
   ๒.๑.๑ การสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ให้ใช้งานได้บนเว็บไซต์ หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟน เช่น โปรแกรม AppInventer2, COMO เป็นต้น
   ๒.๑.๒ การสร้างแอปปลิเคชั่นทางการศึกษาสำหรับอุปกรณ์แอนดรอยน์ เช่น เท็ปเล็ตสำหรับนักเรียน เป็นต้น
  ๒.๒ โปรแกรมสำหรับการจัดการเว็บโฮสติ้งเพื่อการให้บริการเว็บไซต์สำหรับโรงเรียน
บนเครื่องบริการ ESAO-1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย
   ๒.๒.๑ โปรแกรม Pleskบนระบบปฏิบัติการ Windows 2008 R2
   ๒.๒.๒ โปรแกรม Webmin บนระบบปฏิบัติการ Linux
  ๒.๓ การใช้โปรแกรมจำลองเครื่องแม่ข่ายเพื่อการประยุกต์ใช้งานจริง VirtualBox
๓. การเพิ่มประสิทธิภาพและการจัดการเรื่องความปลอดภัยบนเว็บไซต์ บทความและการแจ้งเตือนภัยและช่องโหว่บนเว็บไซต์ มัลแวร์และการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลในเว็บไซต์ ตามเอกสาร CYBER THREATS 2013 ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต).
๔. การสร้างเครือข่ายข้อมูลและการจัดการข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ สพฐ.

สิ่งที่ได้จากการประชุม
  ๑. ได้แนวทางการจัดการเครื่องแม่ข่ายบริการ ESAO-1 เพื่อใช้เป็นเครื่องให้บริการเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์และจัดการสารสนเทศของโรงเรียนในสังกัดโดยใช้โปรแกรมจัดการเว็บโฮสติ้ง เพื่อการบริหารจัดการอุปกรณ์ครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  ๒. ได้แนวทางการบริหารจัดการเว็บไซต์

ข้อเสนอแนะ
  ๑. การพัฒนาไอซีทีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ ใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ได้รับจัดสรรให้เต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อโรงเรียนสูงสุด ด้วยการสร้างเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเว็บไซต์ของหน่วยงาน สามารถส่งต่อและประสานงานกับหน่วยงานทางการศึกษาอื่นๆ ได้อย่างสะดวก ปลอดภัย เป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีประสิทธิภาพสูงสุด
  ๒. สร้างระบบความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาและใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างได้ผล บุคลากรสามารถใช้งานได้สะดวก เป็นมิตร และมีมาตรฐาน
๓. ส่งเสริมและให้การอบรมการใช้โอเพนซอร์สและซอร์ฟแวร์แจกจ่ายที่ได้รับการยอมรับทั่วไปแล้วให้กับบุคคลากรและครู เพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้และยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ ให้สูงยิ่งขึ้น

อุปสรรค
การจัดการโครงสร้างงานและบุคลากรของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔

                     (นายสุภักดิ์..มีสิทธิ์)
                ตำแหน่ง …..ศึกษานิเทศก์.......
             วันที่ ๒๕  เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

 

 



5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 2 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
suppk
สุภักดิ์ มีสิทธิ์


4 เรื่อง
[ มือใหม่ ]

กลุ่มเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล 5 อันดับล่าสุด

      ข้อตกลงการใช้งาน 10/ก.ค./2566
      ข้อตกลงการใช้งาน 10/ก.ค./2566
      โครงสร้างองค์กรและการบริหาร กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร 9/ก.ค./2562
      กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร 2/มิ.ย./2562
      Government Website Standard 15/ก.ย./2557