หมวดหมู่ : บทความทางวิชาการ
เรื่อง : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดย : super08
เข้าชม : 1165
พฤหัสบดี ที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2561
พิมพ์  

ความดันโลหิตสูง
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ขอส่งสื่อประชาสัมพันธ์โรคความดันโลหิตสูง เนื่องในวันความดันโลหิตสูงโลก 17 พฤษภาคม 2561
                โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่ตรวจพบว่าค่าความดันโลหิตอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานานจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง   ต่อการเกิดโรคต่างๆ
สัญญาณเตือนโรคความดันโลหิตสูง
1. ปวดศีรษะ ปวดตา ปวดต้นคอ
2. เลือดกำเดาไหล
3. มึนงง
4. ตามัว
5. เหนื่อยง่าย หายใจหอบ
6. หัวใจเต้นเร็ว
7. เป็นลม
8. หน้ามืด เวียนศีรษะ
9. คลื่นไส้ อาเจียน
10. มือชา มือสั่น ใจสั่น
ปัจจัยเสี่ยง
1. การบริโภคอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักและผลไม้น้อย
2. ความอ้วนและขาดการออกกำลังกาย
3. สูบบุหรี่
4. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. ความเครียดเรื้อรัง
6. พันธุกรรม
7. อายุ 35 ปีขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง
1. หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัว และถ้าไม่ได้รับการรักษาทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวาย     ในที่สุด
2. อาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน หรือแตก ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิต ถ้าเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นผู้พิการ
3. เลือดอาจไปเลี้ยงไตไม่พอ เนื่องจากหลอดเลือดไตเสื่อม ทำให้ไตวายเรื้อรัง
4. หลอดเลือดแดงในตาเสื่อม อาจมีเลือดออกที่จอตา ทำให้ประสาทตาเสื่อม ตามัว หรือตาบอดได้

แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง สำหรับประชาชน
1. รู้ค่าระดับความดันโลหิต และตัวเลขสุขภาพ (เช่น น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย) ของตนเอง
2. การรักษาน้ำหนักตัว ให้ดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่เกิน 23
3. การรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5.งดการสูบบุหรี่และงดการดื่มสุรา
6. พักผ่อนให้เพียงพอ และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ
7. ควรรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

เอกสารและไฟล์ประกอบ

นางสาวพัชรินทร์ บุญยก
นักวิชาการสาธารณสุข
กลุ่มสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช