[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้บริหารการศึกษา
นายสพล ชูทอง
ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต 4
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
เมนูหลัก
ในสำนักงาน
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 1260 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
/*อย่าลืมออกจากระบบด้วยนะครับ /*
สำรวจความคิดเห็น

   ท่านมีความพึงพอใจในทิศทางการปรับรูปแบบของเว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔ แบบใหม่ มากน้อยเพียงใด? (โดย เลือกจากน้อยที่สุด ถึง มากที่สุด ๕ ระดับ)


  1. น้อยที่สุด
  2. น้อย
  3. ปานกลาง
  4. มาก
  5. มากที่สุด
บริการ(E-service)
  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านสะพานหัน

เจ้าของผลงาน : พัทธนันท์ นิลพัฒน์
พุธ ที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
เข้าชม : 2010    จำนวนการดาวน์โหลด : 1127 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 6 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

หากการดาวน์โหลดด้านล่างนี้ใช้ไม่ได้ ให้ คลิกที่นี่==> บทคัดย่อ  ฉบับเต็ม  ไฟล์pdf

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา
ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านสะพานหัน
(Participation of stakeholders in the education management
comply with Economic sufficiency philosophy of  Ban Sapanhan  School.)
*********************************************************************
พัทธนันท์  นิลพัฒน์ *

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเพื่อทราบความต้องการ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านสะพานหันโดยใช้วิธีวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรมีจำนวนทั้งสิ้น 224  คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโมคลาน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 115 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการมีส่วนร่วมแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ  0.92 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านสะพานหันในกิจกรรมการพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดระบบบริหารจัดการ และการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านสะพานหัน อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีส่วนร่วมรับรู้อยู่ในระดับมาก ส่วนการร่วมทำ และร่วมคิด/ตัดสินใจ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง จำแนกเป็นรายกลุ่ม พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และกลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลมีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย
ความต้องการ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ต้องการได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจน เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ในเรื่องปัญหา อุปสรรค พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่วนใหญ่ไม่เข้าใจถึงบทบาท ความสำคัญต่อการเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษาของโรงเรียนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมของโรงเรียน ข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ โรงเรียนควรเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและสร้างความรู้ ความเข้าใจใน
* นางพัทธนันท์  นิลพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสะพานหัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
บทบาทการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และขยายผลสู่ชุมชนอย่างจริงจัง  ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ หน่วยงานด้านการศึกษา ควรกำหนดนโยบาย สนับสนุนการสร้างการมีส่วนร่วมและกำหนดผู้รับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง มีบทบาทในการวางแผนร่วมกับโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะมีส่วนช่วยให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
Abstract.
  The purpose of this study were to study the participation of stakeholders and to study the needs; problems and suggestions of stakeholders about participation in education management comply with Economic Sufficiency philosophy of Ban Sapanhan school. Research methodology was descriptive research. The population were includes: teachers and educational personnel; the Basic Education committee; students; parents and Thaiburee sub-district administration personnel total 224  people. The samples total 115  by random specific. Quantitative data collected by rating scale questionnaire with the reliability of 0.92. The qualitative data collected by a structured interview. Analysis quantitative data by percentage, mean and standard deviation. Qualitative data by content analysis. The research results found that:
The participation of stakeholders in the education management comply with Economic Sufficiency philosophy of Ban Sapanhan School in curriculum development activities; teaching and learning; the management system and the environmental management. The results found that every group of stakeholders involved in the education management comply with the sufficiency economy philosophy of Ban Sapanhan School were moderate. They recognition participate in high level. On the other hand, They participated to do; share ideas/decisions the moderate level. The teachers and educational personnel participated and students at high level. The Basic Education Committee, and parents participated at moderate level. The sub-district administrative organization personnel participated at a low level.
Need; problems and suggestions of stakeholders. The results found that the stakeholders want to gain knowledge and accuracy understanding about the Economy Sufficiency philosophy, to have new experience that can be applied in everyday life. The problems were most stakeholders do not understand the role, importance of participation in the education management comply with the Sufficiency Economic philosophy and the school was not informed about the activities. The recommendation of the stakeholders such as: the school should more announce the school activities related the sufficiency economy philosophy to the parent; community; sub-district administration organization personnel; and relevant agencies. And should extend these activities to the community seriously. Recommendations from the research including: the educational agencies should set policy promoting the participation of stakeholder in the education management comply with sufficiency economy philosophy. The basic education committee, parents should play role in planning the sufficient economic project joining with the school and related organizations. This will contribute to the cooperation in the community
Keyword : Participation in Education management comply with Economic Sufficiency philosophy.

หากการดาวน์โหลดด้านล่างนี้ใช้ไม่ได้ ให้ คลิกที่นี่==> บทคัดย่อ  ฉบับเต็ม  ไฟล์pdf



ดาวน์โหลด  ( Fulltext )  ( บทคัดย่อ ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      ชื่องานวิจัย การนิเทศด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู ปฐมวัยตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย แห่งประเทศไทย สังกัดสานักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 27/ส.ค./2564
      รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ของโรงเรียนวัดประทุมทายการาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 31/พ.ค./2563
      การพัฒนากลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โรงเรียนวัดประทุมทายการาม 31/พ.ค./2563
      ความพึงพอใจต่อการบริการของกลุ่มต่างๆในสำนักงาน ปีงบประมาณ 2561 6/ก.ค./2562
      รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ 25/มิ.ย./2561