เขต ๔ ยินดีต้อนรับ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๔

(สพป. นครศรีธรรมราช เขต ๔)

Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area District Office 4 (PNST4)

ยินดีต้อนรับ
smart
tablet
laptop

เกี่ยวกับ เขต ๔

"เขตสี่เป็นหนึ่ง ใจถึง พึ่งได้"
ยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยไมตรีจิตร

newpnst4

สพป. นครศรีธรรมราช เขต 4

.....สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีภารกิจในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการมีขอบข่ายหน้าที่ให้บริการด้านจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่บริการ 5 อำเภอ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 -2565 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ที่บุคลากรและคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนาได้ร่วมกันกําหนดทิศทางของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565
.....สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เป็นหน่วยงานที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 เพื่อรองรับการจัดระบบโครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ที่เปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มีเขตความรับผิดชอบอยู่ 5 อำเภอมีอำนาจตามกำหนดในมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แบ่งส่วนราชการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนดอำนาจหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้ไว้ดังนี้

    1. จัดทำนโยบาย แผนพัฒนาและมาตรฐานการศึกษา ของเขตพื้นที่การศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษา แผนการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความต้องการของท้องถิ่น
    2. วิเคราะห์การจัดตั้งงบประมาณเงินทุนอุดหนุนทั่วไปของสถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา และแจ้งการจัดสรรงบประมาณที่ได้รับให้หน่วยงานข้างต้นรับทราบ รวมทั้งกำกับ ตรวจสอบ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานดังกล่าว
    3. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานศึกษาในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
    4. กำกับ ดูแล ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่จัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาเพื่อคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีความสามารถพิเศษ
    5. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และรวบรวมข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษา และที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
    6. ประสานการระดมทรัพยากรด้านต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
    7. จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษา และประเมินผลการจัดการศึกษาสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
    8. ประสาน ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลายในเขตพื้นที่การศึกษา
    9. ดำเนินงานและประสาน ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
    10. ประสาน ส่งเสริมการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ และคณะทำงานด้านการศึกษา
    11. ประสานการปฏิบัติราชการทั่วไปกับองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะสำนักงานผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการในเขตพื้นที่การศึกษา
    12. ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับภารกิจภายในเขตพื้นที่การศึกษาที่มิได้ระบุเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใดโดยเฉพาะ หรือปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

    1. จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    2. พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
    3. พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะ ในศตวรรษที่ 21
    5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
    6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
    7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักธรรมาภิบาล
    8. จัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ได้กำหนดนโยบายการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครศรีธรรมราช และนโยบายการพัฒนาประเทศอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 นโยบายหลักและแนวทางการดำเนินงานดังต่อไปนี้

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ
    1. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติและเป็นพลโลกที่ดี
    แนวทางการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ติดตาม และประเมินสถานศึกษาตามมาตรการที่กําหนด
    2.พัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมสามารถรับมือกับภัยคุกคามทุกรูปแบบทุกระดับความรุนแรงที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
    แนวทางการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ติดตาม และประเมินสถานศึกษาตามมาตรการที่กําหนด

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ
    1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพนำไปสู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการตามความสามารถความสนใจ มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
    แนวทางการดำเนินการ
    - วิจัยและพัฒนาเครื่องมือวัดแวว และรวบรวมเครื่องมือวัดแววจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
    - ดําเนิน การวัดแววความถนัดทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจัดกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เรียนค้นหาตนเอง นําไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดไปสู่ความเป็นเลิศด้านทักษะอาชีพที่ตรงตามความต้องการและความถนัดของผู้เรียน
    - วิเคราะห์ความเหมาะสมของวิธีและกระบวนการงบประมาณ เพื่อกระจายอํานาจให้สถานศึกษา มีความเป็นอิสระในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ
    2. กํากับติดตามและให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาพร้อมทั้งรายงานผลการดําเนินงานต่อกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    แนวทางการดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ติดตาม และประเมินสถานศึกษาตามมาตรการที่กําหนด

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ
    1. พัฒนาหลักสูตรทุกระดับการศึกษา
    - พัฒนาหลักสูตรทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สติปัญญา) สอดคล้องกับทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21
    - ส่งเสริมให้ครูปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ จาก“ครูผู้สอน” เป็น “Coach”
    2. พัฒนาศักยภาพ และคุณภาพของผู้เรียน
    - การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพของผู้เรียนระดับปฐมวัย โดย จัดทําเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยปีเว้นปี ส่งเสริมสนับสนุนการดําเนินงานของสถานศึกษาเพื่อประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย
    สนับสนุนให้สถานศึกษามีครูหรือครูผู้ช่วยด้านปฐมวัยตามมาตรฐานที่กําหนด ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย การจัดการศึกษาปฐมวัย แนวคิด ทฤษฎี และองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย เพื่อบริการแกํโรงเรียนและผู้สนใจ
    กํากับ ติดตาม และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา รวมทั้งสรุปและรายงานผล
    - การพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา โดย ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
    จัดทํา/สนับสนุน เครื่องมือประเมินความสามารถพื้นฐานระดับชาติ ป.3 ป.6 และ ม.3 ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพสอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจ
    สร้างกลไกของระบบแนะแนวทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตามสมรรถนะรายบุคคลและเตรียมความพร้อมสู่การประกอบสัมมาอาชีพ ดําเนินการติดตาม และตรวจสอบให้ผู้เรียนได้รับประทานอาหารอย่างครบถ้วนถูกต้องตามหลักโภชนาการ
    กํากับ ติดตาม และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษาในการจัดการศึกษาภาพรวม กำหนดจุดเน้นมุ่งคํานึงถึงพหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลที่หลากหลายตามศักยภาพ
    - การพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพผู้เรียนระดับ มัธยมศึกษา โดย ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความยืดหยุ่นทางด้านความคิด
    สามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นได้ภายใต้สังคมที่เป็นพหุวัฒนธรรม ประสานการดําเนินงานเพื่อทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อเป็นฐานการพัฒนานักเรียนทุกระดับชั้น
    ส่งเสริม สนับสนุน สถานศึกษาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพรวมถึงการวางพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อการวางแผนชีวิต สร้างกลไกของระบบแนะแนวทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตามสมรรถนะรายบุคคลและเตรียมความพร้อมสู่การประกอบสัมมาอาชีพ
    จัดทําแผนงาน โครงการ และกิจกรรมเพิ่มศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ กํากับ ติดตาม และให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา
    - พัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีความต้องการดูแลเป็นพิเศษ โดย ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตร และสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมสําหรับเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสในรูปแบบที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบท และความต้องการจําเป็นพิเศษเฉพาะบุคคล
    ส่งเสริมให้สถานศึกษานําระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้ในการบริหารจัดการ การให้บริการ และการเรียนรู้
    3. นำเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้สนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนทุกระดับการจัดการศึกษา
    - จัดหา พัฒนา ข้อมูลองค์ความรู้ สื่อ วิดีโอ และองค์ความรู้ประเภทต่าง ๆ หนังสือแบบเรียนในรูปแบบของดิจิทัลเทคบุค (Digital Textbook) ตามเนื้อหาหลักสูตรที่กําหนด
    - พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล (Digital Learning Platform) เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
    - ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนมีอุปกรณ์ดิจิทัล (Digital device) เพื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงองค์ความรู้ และการเรียนรู้ผ่านระบบดิจิทัล อย่างเหมาะสมตามวัย
    4. การพัฒนาคุณภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา
    - การผลิตครูที่มีคุณภาพ โดยสร้างความร่วมมือกับสถาบันการผลิตครู วิเคราะห์ความขาดแคลน ความต้องการครู วางแผนวิเคราะห์หลักสูตรให้สอดคล้องกับแผนความต้องการ
    - พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทาง 15 ข้อ

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ
    1. สร้างความร่วมมือ กับองค์กรปกครองระดับ ท้องถิ่น ภาคเอกชน หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดย ส่งเสริม สนับสนุนให้มีความร่วมมือกับองค์กรปกครองระดับท้องถิ่นจัดทําฐานข้อมูลประชากรวัยเรียน
    2. การยกระดับสถานศึกษาในสังกัดทุก ระดับและทุกประเภท ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตามบริบทของพื้นที่ โดยจัดทํามาตรฐานสถานศึกษาให้มีคุณภาพส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาสถานศึกษาระดับตําบล ระดับอําเภอ ระดับจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินสถานศึกษาในทุกมิติ
    3. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนผู้เรียนทุกกลุ่มและสถานศึกษาทุกประเภทอย่างเหมาะสม และเพียงพอ โดยศึกษา วิคราะห์ ความเหมาะสมของงบประมาณ ส่ง เสริ ม สนับ สนุน ให้สถานศึกษาจัดทําแผนงบประมาณการ ประสานความร่วมมือกับกองทุน ความเสมอภาคทางการศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กระบวนการจัดทํา แผนงบประมาณ และติดตาม กํากับ การใช้ จ่ายงบประมาณของสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใส
    4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน โดยส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษามีระบบโครงข่ายสื่อ สารโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูง เครื่องมือ ในการพัฒนาทักษะด้านการรู้ดิจิทัล (Digital Literacy) แก่ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) สนับสนุนอุปกรณ์ดิจิทัล (Digital Device) สําหรับผู้เรียนทุกระดับ พัฒนาการสอนทักษะดิจิทัล (Digital Pedagogy) สําหรับครู ใช้ เทคโนโลยี การเรียน การสอนทางไกลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้ เรียน (Distance Learning Technology: DLT)
    5. ประชากรวัยเรียนได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่าเทียมกัน และศึกษาในระดับสูงขึ้น

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ
    1. จัดทำ Road Map และแผนปฏิบัติการเพื่อจัดแนวทางการดำเนินทางการให้องค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกด้านการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    2. จัดทำคู่มือและพัฒนาสื่อนวัตกรรมในรูปแบบ QR CODE และสื่อระบบ Multimedia และอื่น ๆ
    3. จัดทำเกณฑ์การประกวดโรงเรียนคาร์บอนต่ำและชุมชนคาร์บอนต่ำและพัฒนาวิทยากรให้ความรู้เรื่องวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) สู่สังคมคาร์บอนต่ำ
    4. พัฒนาวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ในเรื่องการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย จนถึงระดับมัธยมศึกษา และพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการเก็บข้อมูลการลดก๊าซที่มีผลต่อปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ในรูปแบบการเปรียบเทียบและการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน Carbon emission /Carbon Footprint ในสถานศึกษาสู่ชุมชน
    5. จัดจ้างผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ Road Map เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำ
    6. พัฒนาต่อยอดและขยายผลการเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะ และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
    7. พัฒนาเครื่องมือ และกระบวนการให้ความรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมเรื่องการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา
    8. ดำเนินการต่อยอดขยายความรู้และสร้างเครือข่ายโรงเรียน ชุมชน และเชื่อมต่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
    9. สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนากระบวนการรณรงค์ให้มีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริหารจัดการสำนักงานสีเขียวและสถานศึกษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green office)
    10. พัฒนา ยกระดับสถานศึกษานำร่องขยายผล ส่งสถานศึกษาต้นแบบด้านการพัฒนา ด้านการผลิต และบริโภค ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ เช่น การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เบอร์ ๕ และผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากและสัญลักษณ์เบอร์ ๕ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดปริมาณขยะในสำนักงานและสถานศึกษา
    11. ส่งเสริมการพัฒนาสื่อนวัตกรรม และบูรณาการสาระการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    12. ขยายผลผ่านระบบ DLTV ส่งเสริมความรู้เรื่อง การผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อความปลอดภัย และสุขภาพที่ดีสู่สังคมเมืองเชิงนิเวศและการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่ดีและการเลือกผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและฉลากที่แสดงสัญลักษณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    13. พัฒนานวัตกรรมโดยใช้กระบวนการ BBL/PLC และ Decision – Making การนำขยะมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์และพลังงานและลดปริมาณขยะ การบำบัดน้ำเสีย ลดการใช้เผาและลดใช้สารเคมี สู่โรงเรียนปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    14. ขยายผลจากโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชนเชิงนิเวศและการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมดี Green city ด้านพลังงาน การจัดการขยะและน้ำเสีย ชุมชนผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    15. ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาให้นักเรียน โรงเรียนได้ศึกษา เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้โรงงานอุตสาหกรรม การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนเมืองนิเวศ และหน่วยงานส่งเสริมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้และจัดทำโครงงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    16. ส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนรู้อาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา จัดค่ายเยาวชนวัยซน ลดคาร์บอนเพื่อโลก
    17. จัดทำระบบนิเทศ ติดตามผลการดำเนินงานในสถานศึกษาทั้งในระบบออนไลน์และนิเทศเชิงคุณภาพพัฒนาการกรอกข้อมูลระบบการนิเทศติดตาม แลกเปลี่ยนนำเสนอผลงานและมอบรางวัลเกียรติยศ ประชาสัมพันธ์และจัดพิมพ์ เว็บไซต์ ผลงานเพื่อเผยแพร่และเป็นต้นแบบ สรุปผลรายงาน

    มาตรการและแนวทางการดำเนินการ

      1. สถานศึกษา หรือกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษาครอบคลุม ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไป
      2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ต้องปรับเปลี่ยนให้เป็นหน่วยงานให้มีความทันสมัย พร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่สนับสนุน ส่งเสริม ตรวจสอบ ติดตาม เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
      4. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา มีกระบวนการ และวิธีการงบประมาณด้านการศึกษาเพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการศึกษา โดยเน้นคุณภาพผู้เรียน
      5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา พัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) มาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

ผู้บริหารการศึกษา

คณะผู้บริหารการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

สพล

นายสพล ชูทอง

ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ::: pnst4@pnst4.go.th ::: -- ::: 081-8935744
อำนาจ

นายอำนาจ สุทิน

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ::: pnst401@pnst4.net ::: 093-6914939
ศิราณี

ดร. ศิราณี ศักรินพานิชกุล

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ::: siranee.nui@gmail.com, pnst403@pnst4.net ::: 089-7213910
เสาวพจน์

ดร. เสาวพจน์ รัตนบุรี

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ::: saowapot2514@outlook.co.th, pnst402@pnst4.net ::: https://www.facebook.com/profile.php?id=100009941310145 ::: 085-9965428

โครงสร้าง

แผนผังแสดงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของหน่วยงาน ที่เป็นปัจจุบัน ประกอบด้วยตําแหน่งที่สําคัญ และการแบ่งส่วนงานภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ทั้ง 8 กลุ่ม 1 หน่วย และ คณะกรรมการติดตาม ประเมิน และนิเทศการจัดการศึกษา

เขต๔-๑ เขต๔-๒ เขต๔-๓ เขต๔-๔

ผู้บริหารการศึกษา


คณะผู้บริหารการศึกษา จำนวน 4 ท่าน

ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ว่าที่ร้อยโท ดร. สุเวศ กลับศรี

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 นายอำนาจ สุทิน

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ดร. ศิราณี ศักรินพานิชกุล

รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ดร. เสาวพจน์ รัตนบุรี

ก.ต.ป.น.

กฎกระทรวงศึกษาธิการกำหนดจำนวน หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. 2548 ให้มีคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา(ก.ต.ป.น.)จำนวนเก้าคน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ จำนวนหนึ่งคน กรรมการที่เป็นผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของเอกชน จำนวนหนึ่งคน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนห้าคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงในด้านการบริหารการศึกษา ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน และหัวหน้ากลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ

ผู้อำนวยการกลุ่ม-หน่วย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 แบ่งการทำงานออกเป็นกลุ่ม, หน่วย ดังต่อไปนี้ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มบริหารงานบุคคล กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มกฎหมายและคดี กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา หน่วยตรวจสอบภายใน

กลุ่มอำนวยการ


บริหารงานทั่วไป งานสื่อสาร งานสวัสดิการ งานความร่วมมือระหว่างองค์กรและหน่วยงานภายนอก งานเอกสาร เข้า-ออก งานอาคารสถานที่ ติดตามและรายงานประสิทธิภาพการดำเนินงาน

กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา


ประสานงานกิจการนักเรียน สวัสดิการนักเรียน ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดมทุน-ทรัพยากรทางการศึกษา ระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มบริหารงานบุคคล


มีขอบข่ายภารกิจและการให้บริการในด้านต่อไปนี้ งานวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง งานสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง งานบำเหน็จความชอบและทะเบียนประวัติ

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา


ภายใต้กลุ่มบริหารงานบุคคล แน้นการพัฒนาและรับรองการพัฒนาบุคลากรในสังกัด "พัฒนาครู พัฒนางาน ประสานความร่วมมือ"

กลุ่มกฏหมายและคดี


ที่ปรึกษาและให้ความช่วยเหลือด้านการปฏิบัติหน้าที่ตามกรอบงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง "ปฎิบัติงานภายใต้กฏหมาย คลี่คลายกรณีคดี หมั่นใส่ใจวินัยครู"

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา

งานด้านวิชาการ หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระบบประกันคุณภาพ ความโปร่งใสในการทำงาน การนิเทศ ติดตามและพัฒนาครูด้านวิชาการ การเรียนการสอน และเลขานุการ ก.ต.ป.น. "พัฒนาตน พัฒนาครู สู่คุณภาพผู้เรียน"

กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

"รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี"

ให้บริการคำปรึกษาด้านอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน ดูแล ให้คำปรึกษา สนับสนุนการศึกษาทางไกลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มนโยบายและแผน

สนับสนุนการวางแผนการบริหารงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ การลงทุนทางการศึกษา ให้คำปรึกษาและประสานงานระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานนโยบาย ติดตามและรายงานการดำเนินนโยบาย"ใช้แผนเป็นเครื่องมือประสาน ติดตามงานอย่างเป็นระบบ บริหารงบด้วยความโปร่งใส"

กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์

"รวดเร็ว ทันใจ โปร่งใส ตรวจสอบได้"

กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ มีหน้าที่ให้คำปรึกษาสถานศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานการเงิน และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน ของ กลุ่ม/หน่วย/งาน ความรับผิดชอบด้านการบริหารการเงินและบัญชี การบริหารงานพัสดุ และบริหารงานสินทรัพย์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

หน่วยตรวจสอบภายใน

สนับสนุนให้คำปรึกษาผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ด้านการจัดทำ การดำเนินการ และการรายงานการใช้งบประมาณ ตามหลักธรรมาภิบาล "ตรวจประเมินช่วยเหลือด้วยไมตรีจิต เพื่อพิชิตเป้าหมาย"

ประชาสัมพันธ์

เผยแพร่ข่าวสารของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในรูปแบบสื่อที่หลากหลาย ประสานงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจที่ดีทั้งภายในและระหว่างองค์กร

อำนวยการ

กลุ่มอำนวยการ

กลุ่มอำนวยการมีหน้าที่ ดังนี้

บริการ ดูแลรักษาความปลอดภัย ความสะอาดและการดูแลบริเวณ ประสานงานหน่วยงาน การให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก จัดระบบสวัสดิการ การติดต่อสื่อสารตามระบบราชการ และการประชาสัมพันธ์

    ความรับผิดชอบอาคารสถานที่ เจ้าหน้าที่ การรักษาความปลอดภัย ทรัพยากรณ์ การบำรุงรักษา การประสานงาน การต้อนรับ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มอำนวยการ

ส่งเสริม

กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา

กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษามีหน้าที่ ดังนี้

บริการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กิจการนักเรียน ฐานข้อมูลนักเรียน ระดมทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ปฏิทินกิจกรรมนักเรียน

    ความรับผิดชอบ จัดทำปฏิทินการศึกษา สนับสนุนและช่วยเหลืองานระบบดูแลช่วยหลือนักเรียน สวัสดิการนักเรียน กิจกรรมนักเรียน

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มส่งเสริมฯ

บุคคล

กลุ่มบริหารงานบุคคล

กลุ่มบริหารงานบุคคล มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ งานระบบทะเบียนฐานข้อมูลบุคลากร เครื่องราช การพัฒนาบุคลากร อัตรากำลัง และความก้าวหน้าทางวิชาชีพ

    ความรับผิดชอบ ทะเบียนประวัติบุคลากร ประสานงาน(กำหนดอัตรากำลัง การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย) พัฒนาคุณภาพบุคลากร

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มบริหารงานบุคคล

พัฒนา

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

กลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ สรรหา บรรจุ แต่งตั้งและย้าย โอน

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มพัฒฯ

กฏหมาย

กลุ่มกฏหมายและคดี

    กลุ่มกฏหมายและคดี มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มกฎหมายฯ

นิเทศ

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา

กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มนิเทศฯ

เทคโน

กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีหน้าที่ ดังนี้
ให้บริการ
การจัดการศึกษาทางไกล (DL, DLTV, DLIT)
พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษา
งานระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    ความรับผิดชอบ
ให้คำปรึกษา
วิจัยและพัฒนาระบบ
สนับสนุนงบประมาณซ่อมบำรุง
ประสานงานหน่วยต้นสังกัด

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มไอซีที

แผน

กลุ่มนโยบายและแผน

กลุ่มนโยบายและแผน มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มแผนฯ

การเงิน

กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์

กลุ่มบริหารการเงินและสินทรัพย์ มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์กลุ่มการเงิน

ตรวจสอบ

หน่วยตรวจสอบภายใน

หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ ดังนี้

บริการ

    ความรับผิดชอบ

ข้อตกลงการใช้งาน
เว็บไซต์หน่วยตรวจสอบฯ

การเงิน

ประชาสัมพันธ์

งานประชาสัมพันธ์ และเลขานุการ

ประชาสัมพันธ์

    ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์
เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์

ร้องเรียนเรื่องทุจริต

การร้องเรียนเรื่องการทุจริตในองค์กร

แจ้งข่าวสารจาก เขต ๔

ข่าวสาร สพป. นครศรีธรรมราช เขต 4

การเงิน

ข่าวการเงินและบัญชี

พัสดุ

ข่าวจัดซื้อ-จัดจ้าง

ประชาสัมพันธ์

ประกาศทั่วไป

ประกาศ

ประกาศงานพัสดุ

ประกาศ

ประกาศทางราชการ

ประกาศ

กลุ่มบุคคล

MOE
OBEC
EMIS
เมล์องค์กร
รัฐบาลอิเลคทรอนิกส์
เว็บไซต์เดิม

สารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 (สพป.นศ.4)

ถาม-ตอบ(Q&A)

คำถาม-และคำตอบ(Q&A)ที่พบบ่อยในการใช้บริการของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

  • คำตอบ ในความเป็นจริงท่านสามารถใช้เว็บไซต์ สพป. นครศรีธรรมราช เขต 4 โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกก็ได้ โดยที่ท่านสามารถใช้บริการส่วนใหญ่ของเว็บไซต์ได้ตามปกติ แต่หากมีการสมัครสมาชิก โดยที่ใช้อีเมล์จริงหรืออีเมล์องค์กร และระบุสังกัดได้ชัดเจน ท่านก็จะสามารถเข้าใช้งานเว็บไซต์ สพป. นครศรีธรรมราช เขต 4 ในบริการเพิ่มเติมนอกเหนือจากบริการทั่วๆ ไปได้เพิ่มขึ้น เช่น การดาวน์โหลดเอกสาร ปกปิด การใช้งานส่งข่าวสารราชการ และการเผยแพร่ผลงาน เป็นต้น

  • คำตอบ ทุกคนสามารถสมัครสมาชิกโดยการกำหนดชื่อผู้ใช้งานเป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กไม่น้อยกว่า 4 ตัวอักษร และกำหนดรหัสผ่านของท่านเองเป็นอักษรผสมตัวเลขและเครื่องหมาย - _ ? @ รวมกันไม่น้อยกว่า 6 ตัวอักษร และกรอกข้อมูลสำคัญตามที่ระบุในแบบฟอร์มสมัครออนไลน์ให้ครบถ้วน โดยขอให้ระบุ ชื่อ-สกุล เป็นภาษาไทย เท่านั้น อีเมล์ที่ใช้งานจริงหรืออีเมล์องค์กร และ ต้องกรอกรหัสสุ่มให้ครบถ้วนถูกต้อง จากนั้นก็สามารถใช้งานในฐานะสมาชิกได้ทันที แต่เมื่อออกจากระบบ ท่านจะต้องรอให้แอดมินรับเข้าระบบในฐานะ user อีกไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และหากท่านสมาชิกจะขอเข้าร่วมเป็นทีมพัฒนาเว็บไซต์ก็สามารถส่งอีเมล์ถึง super08 ได้ตลอดเวลา ท่านสามารถกรอกใบสมัครเว็บไซต์ได้ทันทีโดย คลิกที่นี่

  • คำตอบ สำนักงาน สพป. นครศรีธรรมราช เขต 4 ตั้งอยู่ในศูนย์ราชการอำเภอท่าศาลา เลขที่ 160/4 หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 (ที่ว่าการอำเภอ) สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถโดยสารตามทางหลวงหมายเลข 401 (สายเก่าเข้าอำเภอ) ที่ตั้งสำนักงานเป็นอาคาร 4 ชั้น ติดกับ ที่ว่าการอำเภอท่าศาลา ห่างจากป้ายจอดรถโดยสารระหว่างจังหวัด (โรงพยาบาลท่าศาลา) ประมาณ 5 นาที หรือ กำหนดแผนที่ในระบบนำทางได้ ดังนี้

  • คำตอบ หมายเลขโทรศัพท์ท้องถิ่นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 คือ 075-522112 โทรสาร 075-522502 ในวัน เวลา ราชการ ระหว่าง 08.30 - 16.30 น. หรือ E-mail : pnst4@pnst4.go.th ตลอดเวลา หรือ หากเดินทางมาติดต่อที่สำนักงาน (โปรดปฏิบัติตามมาตรการระมัดระวังและป้องกันโรคระบาดโดยเคร่งครัด) สามารถติดต่อได้โดยสะดวกระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวัน.

ส่งคำถาม

โปรดใช้คำสุภาพในการส่งคำถาม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

160/4 ม.1 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา
จ. นครศรีธรรมราช, 80160

pnst4@pnst4.go.th

+66 7552 2112

+66 7552 2502

รับข้อมูล
ขอขอบคุณ ขณะนี้เราได้รับเรื่องของคุณไว้แล้ว

ที่ตั้ง

==> สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 เลขที่ 160/4 หมู่ 1 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 4 รหัสไปรษณีย์ 80160